วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

10.ระดับของสารสนเทศ

ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร
          1. สารสนเทศระดับบุคคล  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน  ทำให้ทำงานในหน้าที่
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล  เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ  และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
           2. สารสนเทศระดับกลุ่ม  คือ  สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน  ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน  สารสนเทศระดับกลุ่ม
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน  จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน  ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ข้อมูล  เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน  และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
           3. สารสนเทศระดับองค์กร  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร  ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย  จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้  เพื่อประโยชน์ใน
การตัดสินใจ

ระดับของผู้บริหาร
            1. ผู้บริหารระดับล่าง  เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
            2.  ผู้บริหารระดับกลาง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น  เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ  เช่น  ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
            3. ผู้บริหารระดับสูง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว  ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์  สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์  การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่  และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ  เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

9.การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ 
          การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล

การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ ที่คุณภาพ

การประมวลผลข้อมูล
      การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
                               
การดูแลรักษาข้อมูล
        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

8.การประมวลข้อมูล

วิธีการประมวลผลข้อมูล 
       การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้  2  วิธี  คือ  การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที  ดังนี้
       1. การประมวลผลแบบกลุ่ม  ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7  วัน  หรือ  1  เดือน  แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว  เช่น  การคำนวณค่าบริการ
น้ำประปา  โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ  1  เดือน  แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น
ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว    การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
      2. การประมวลผลแบบทันที  เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูล
ทันที  เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร  เมื่อลูกค้าฝากเงิน  ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที  ทำให้ยอดฝากใน
บัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง  การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก

สาระน่ารู้
การประมวลผลแบบทันที  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง  (Online  Processisng)
เนื่องจากลักษณะการทำงานจะต้องเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์                                                                               

7.ประเภทของข้อมูล

ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลมีหลายประเภท ดังนี้
  1. ข้อมูลตัวอักษรimg7.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น

img7.gif
      2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข img8.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนน จำนวนเงิน ราคาสินค้า เป็นต้น
      img8.gif

a_cat_stripe.gif3. ข้อมูลภาพ a_cat_stripe.gif คือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น



 4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูลเสียงด้วยลำโพง



6.ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ



ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ
1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า
2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล 
การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ

ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

5.ผลกระทบของเทคโนโลยี



ผลกระทบของเทคโนโลยี
ผลกระทบด้านบวก
               1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
               2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส   เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
               3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน   การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
               4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
               5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ   กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงาน
               6.การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม   การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็น ต้องหาวิธีการ ในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
               7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ผลกระทบด้านลบ
               1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น  เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
               2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม  หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น
               3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
               4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
               5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเพยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
               6. เกิดช่องว่างทางสังคม  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้และผู้ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
               7. อาชญากรรมบนเครือข่าย   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
               8. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ   นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมอง คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีผลเสียต่อสายตา ซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท

4.ความสำคัญของเทคโนโลยี

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  ช่วยอำนวยความสะดวก  และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    ในปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ จำนวนมาก
             เทคโนโลยี  คือ  การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์  เช่น  คอมพิวเตอร์  การสื่อสาร  โทรคมนาคม
ตลอดจนการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ  เช่น  ด้านการแพทย์  การศึกษา  การค้า  และอุตสาหกรรม
             สารสนเทศ  คือ  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
             ดังนั้น  เทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงหมายถึง  เครื่องหมายหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม  ประมวลผล
เก็บรักษา  และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  สามารถทำให้มนุษย์ทำงานได้รวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ
มากยิ่งขึ้น
                2. ช่วยด้านการบริการ  มีการใช้ระบบฐานข้อมูลในเครือข่าย  ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็จะสามารถ
ใช้ระบบฐานข้อมูลจากสถานที่หรืเวลาใดก็ได้
                3. ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน  เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบการทำงาน
                4. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  เช่น  การรับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพด้วยกล้องดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                1. บันทึกและจัดเก็บข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล  การรวบรวมข้อมูล
จะใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล  เช่น  แป้นพิมพ์  เครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์  เครื่องอ่านบาร์โค้ด
                2. การประมวลผล  ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ  เช่น  แผ่นดิสเกตต์  แผ่นซีดี  และแผ่นดีวีดี  จะถูกนำมาประมวลผลตามดปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
                3. การแสดงผล  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปแสดงยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล
การแสดงผลลัพธ์อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร  ภาพ  เสียง  และสื่อประสมต่าง ๆ
               4. การสื่อสารและเครือข่าย  เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งเพื่อให้
คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์สื่อสารสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์และ
สารสนเทศร่วมกัน  การเชื่อมต่ออาจผ่านทางสายโทรศัพท์  ทางอากาศ  และสายเคเบิล


ปี  พ.ศ.2530  ระบบสารสนเทศและเครื่องคอมพิวเตอร์
มีการพัฒนามากขึ้นจนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์
ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดยุคแห่งสังคมสารสนเทศ