วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

1.หลัการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

                หลัก การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้  โดยตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์  จะมีส่วนประกอบสำคัญขั้นพื้นฐาน  5  หน่วย  ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีหลักการทำงาน  ดังนี้

                1.  หน่วยรับข้อมูล  (input unit)  ทำ หน้าที่รับข้อมูลมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์  จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล  ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผล

                2.  หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  จากนั้นผลลัพธ์จะถูกส่งไปจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก

                3.  หน่วยความจำหลัก (main memory) ทำ หน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่เท่านั้น  ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นจะสูญหายไป

                4.  หน่วยแสดงผล (output unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง

                5.  หน่วยความจำรอง (secondary storage) ทำ หน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ  เพื่อนำมาใช้อีกครั้งในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย







หน่วยรับข้อมูล


                     หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้า ใจ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

แป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) 

            เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ ตัวอุปกรณ์จะมีกลุ่มของแป้นพิมพ์วางเรียงต่อกันเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด ประเภทแป้นพิมพ์ต่าง ๆ  ดังนี้



1.แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ ( Ergonomic keyboard )
           แป้นพิมพ์ที่ออกแบบการจัดวางปุ่มกดตามสรีระของมือ  เพื่อช่วยลดอาการเหมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ  ที่เกิดจากการพิมพ์งานเป็นเวลานานๆ         



2.แป้นพิมพ์ไร้สาย ( Cordless keyboard )
            เป็นแป้นพิมพ์แบบใหม่ที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้นและทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายแป้นพิมพ์ไปวางยังตำแหน่งใด ๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้
                                             
   
   
3.แป้นพิมพ์พกพา ( Portable keyboard )
            เมื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องพีดีเอได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น การทำงานบางอย่างที่ต้องอาศัยการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น   พิมพ์ข้อความรายงาน จดหมายหรือบันทึกการประชุม      

4.แป้นพิมพ์เสมือน ( Virtual keyboard )
               เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเช่นเดียวกันกับแป้นพิมพ์พกพา แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนแป้นพิม์จริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็น พื้นผิวเรียบ
                                                                    

การเลือกซื้อแป้นพิมพ์

    1. ควรเลือกแป้นพิมพ์ที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน  
    2. ควรเลือกแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มกดไม่แข็งเกินไป
    3. ควรเลือกแป้นพิมพ์ที่มีการรับประกัน


การดูแลรักษาแป้นพิมพ์
   1.  ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
   2.  อย่าทำน้ำหกใส่แป้นพิมพ์
   3.  อย่านำอาหารหรือขนมมารับประทาน


เมาส์
เมาส์ (Mouse)

               อุปกรณ์เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง  ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนจอภาพได้  ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่จ้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างโค้งๆ งอๆ เหมือนก้อนสบู่ กลไกภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนใช้กำหนดตำแหน่ง เพื่อเลือกคำสั่งหรือวาดลายเส้นบนจอภาพ ตำแหน่งจุดตัด X และ Y จากเครื่องมือนี้จะสัมพันธ์กับจุดตัดXและYบนจอภาพทำให้สามารถกำหนดคำสั่ง หรือตำแหน่งลายเส้นตามเงื่อนไขในโปรแกรมได้สะดวก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้



เมาส์แบบทั่วไป ( Mechanical mouse ) เป็น เมาส์ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากผ่านแผ่นรองเมาส์ ( mouse pad ) และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศใด สำหรับส่วนบนจะมีปุ่มให้เลือกกดประมาณ 2-3 ปุ่ม ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางแบบอาจมีปุ่มล้อที่หมุน ( scroll ) และกดได้เพื่อควบคุมการทำงานขึ้นลงของสโครลบาร์ในหน้าต่างโปรแกรมบางประเภท

      


 เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ ( Optical mouse ) การ ใช้เมาส์แบบทั่วไปที่ใช้ลูกบอล มีข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ลูกบอลจะกลิ้งผ่านและเก็บเอาฝุ่นละอองเข้าไปด้วย ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น ส่งผลให้กลไกในการทำงานผิดเพี้ยนไปมาก จึงมีการสร้างเมาส์แบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า เมาส์แบบแสง หรือ ออปติคอลเมาส์ เพื่อใช้แก้ปัญหานี้ เมาส์แบบใหม่นี้ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงไปกระทบพื้นผิวด้าน ล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทาง เป็นการชี้ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย




เมาส์แบบไร้สาย (Cordless หรือ Wireless mouse) เมาส์ที่ใช้คลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก ข้อจำกัดของใช้เมาส์ไร้สาย คือ ใช้แบตเตอรี่ในการทำงาน และใช้ระยะห่างไม่ไกลจากตัวรับสัญญาณ


นอกจากเมาส์แล้วยังมีอุปกรณ์ที่มีการทำงานคล้ายเมาส์ ดังนี้ 
1. ลูกกลมควบคุม (track ball) เป็น อุปกรณ์ที่มีลูกบอลขนาดเล็กวางอยู่ด้านบน ผู้ใช้สามารถบังคับลูกบอลให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ นิยมสร้างไว้กับเครื่องโน้ตบุ๊ก เพราะสะดวกต่อการใช้งาน และใช้พื้นที่น้อย 






2. แท่งชี้ควบคุม (track point) เป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ ผู้ใช้บังคับแท่งชี้ควบคุมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเลื่อน เพื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้ 




 

3. แผ่นรองสัมผัส (touch pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ของเครื่องโน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้ 


4. จอยสติ๊ก (joustick) จะ เป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ และมีแป้นกดสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์ 



5. จอสัมผัส (touch screen) ผู้ ใช้เพียงสัมผัสนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อเลือกการทำงาน หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องสามารถเลือกใช้โปรแกรมต้อง การได้อย่างรวดเร็ว 



6. ปากกาแสง (light pen) เป็นอุปกรณ์ที่มีความไวต่อแสง โดยปากกาจะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ 



การเลือกซื้อเมาส์

1. ควรเลือกเมาส์ที่มีการออกแบบให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน

2. ควรเลือกเมาส์ที่มีขนาดเหมาะสมกับสรีระของมือผู้ใช้

3. ควรทดลองใช้เมาส์ก่อนซื้อ เพื่อตรวจการใช้งานของเมาส์ว่าสะดวกต่อการใช้งานหรือไม่



การดูแลรักษาเมาส์ 
1. ควรวางเมาส์บนแผ่นรองเมาส์ทุกครั้งที่ใช้งาน และทำความสะอาดแผ่นรองเมาส์ โดยเช็ดด้วยผ้าแห้งอย่างสม่ำเสมอ

2. ควรทำความสะอาดบริเวณลูกบอลและก้านพลาสติกในตัวเมาส์อย่างสม่ำเสมอ โดยนำลูกบอลมาเช็ดด้วยผ้าแห้ง และใช้สำลีพันก้านไม้ชุบแอลกอฮอล์หมาด ๆ เช็ดที่ก้านพลาสติก



สแกนเนอร์
สแกนเนอร์ (scanner) 

สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพ ที่ต้องการทำสำเนาภาพ จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และเก็บเป็นไฟล์ภาพ สแกนเนอร์ มี 3 ประเภท คือ 

1) สแกนเนอร์มือถือ (Handheld scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีขนาดเล็ก สามารถถือและพกพาติดตัวได้สะดวก การใช้สแกนเนอร์มือถือนี้ ผู้ใช้ต้องถือตัวสแกนเนอร์เลื่อนผ่านบนภาพหรือเอกสารต้นฉบับที่ต้องการ 
2) สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (sheetfed scanner) เป็น สแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล เครื่องชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้ 


3) สแกนเนอร์แบบแท่น (flatbed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน โดยการวางกระดาษเอกสารต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ ทำให้ใช้งานได้ง่าย 


 

การเลือกซื้อสแกนเนอร์
1. ควรเลือกที่มีความละเอียดในการสแกนที่เมหาะกับการนำไปใช้

2. ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน 


การดูแลรักษาสแกนเนอร์ 
1. ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยนำผ้าสะอาดไม่มีขนชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็ดกระจกของเครื่องสแกนเนอร์ 

2. ปิดเครื่องทุกครั้งหลักการใช้งาน 

3. หากกระดาษติด อย่ากระชาก ให้ค่อย ๆ ดึงออก 

4. ควรใช้สแกนเนอร์เป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเครื่อง 
อุปกรณ์จับภาพ
อุปกรณ์จับภาพ (image capturing devices)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิตอล อุปกรณ์จับภาพมี 2 ชนิด ดังนี้ 
1. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (digital camera) มี รูปร่างและการทำงานคล้ายกล้องถ่ายภาพ แต่ภาพนิ่งที่ได้จากกล้องดิจิตอลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำของกล้องแทนฟิล์ม ซึ่งผู้ใช้สามารถดูภาพจากกล้องได้ทันที 


2. กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล (digital video camera) มี รูปร่างการทำงานคล้ายกล้องวีดิโอ แต่ภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากกล้องวีดิโอดิจิตอลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำ ของกล้องแทนฟิล์ม นอกจากนี้กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล ยังสามารถจับภาพนิ่งได้ด้วย 


การเลือกซื้ออุปกรณ์จับภาพ 

1. ควรเลือกที่มีความละเอียดของภาพที่เหมาะกับการนำไปใช้งาน 

2. ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน 

การดูแลรักษาอุปกรณ์จับภาพ 

1. ควรทำความสะอาดเลนส์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มีฝุ่นบริเวณเลนส์ของกล้อง โดยใช้ลูกยางเป่าฝุ่นละอองออกจากหน้าเลนส์ ห้ามใช้ปากเป่าที่หน้าเลนส์โดยตรง และเช็คเลนส์ด้วยกระดาษสำหรับเช็ดเลนส์โดยเฉพาะ หรือใช้ผ้าที่มีเนื้อนุ่ม สะอาดและแห้งแทนก็ได้ 

2. ควรเก็บกล้องไว้ในที่แห้งและเย็น ปราศจากฝุ่นละออง 

3. ควรนำกล้องมาถ่ายภาพเดือนละประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการทำงาน และยืดอายุการใช้งานของกล้อง




อุปกรณ์รับเสียง (audio-input devices)

เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่น ๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าที่ คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน


การเลือกซื้ออุปกรณ์รับเสียง 

1. ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน 

2. ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน 


การดูแลรักษาอุปกรณ์รับเสียง 

1. ควรใช้ไมโครโฟนตรงตามลักษณะของการใช้งาน 

2. ควรวางไมโครโฟนเบาๆ และไม่ควรกระแทกไมโครโฟนกับพื้น 

3. ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน โดยนำผ้าแห้งเช็ดให้สะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อสัปดาห์ละครั้ง
หน่วยประมวลผลกลาง

             เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CPU เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผล เช่น การคำนวณการเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม กาีจัดรายงาน เป็นต้น หน่วยประมวลผลกกลางจึงเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดวดเคราะห์ เพื่อหาผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ต้องการได้ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับพีซีจะถูกบรรจุในชิปที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์

            ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูล input device ตามคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรมที่เตรียมไว้และส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผล output device เพื่อให้สามารถเก็บหรืออ่านผลลัพธ์ได้ถ้าซีพียูยิ่งมีความเ็ร็วมากจะยิ่ง ประมวลผลได้เร็วขึ้น ความเร็วของซีพียูจะถูกควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา system clock ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะการทำงานเหมือนกับจังหวะของการเล่นดนตรีหน่วยวัดความ เร็วของสัญญาณนาฬิกาดังกล่าวเรียกว่า เฮิร์ตซ์ Hertz: He ซึ่งเทียบเท่ากับ ๑ ครั่งต่อวินาที โดยปกติแล้วซีพียูจะมีการทำงานที่เร็วมาก ทั่งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียู  

การเลือกซื้อหน่วยประมวลผลกลาง

1.ควรเลือกความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ                                                                               

2.ควรเลือกซีพียูที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาหน่วยประมวลลผกลาง

1. ไม่ควรให้ซีพียูอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง

2. ไม่ควรวางอาหารและเครื่องดื่มไว้ใกล้ซีพียู 

หน่วยความจำหลัก

      หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คือ หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้หน่วยประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แรม และ รอม 

แรม
หน่วยความจำแรม (Random Access Memory : RAM)

เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผล หรือเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน่วยความจำประเภทนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ ข้อมูลสูญหาย หรืออาจเรียกว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory) หากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะหายไป แรมถูกเป็นเก็บข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลและคำสั่งในแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลภายหลัง ผู้ใช้ต้องย้ายข้อมูลจากแรมไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่งบันทึก (Save) จากโปรแกรมที่ใช้งาน

แรม ที่มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วขึ้น การวัดขนาดของหน่วยความจำของแรม นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็น ไบต์ (Byte) โดยเปรียบเทียบกับขนาดของตัวอักษร ดังนี้

1 Bit (บิต) =  8 ไบต์

1 Byte =  1  ตัวอักษร

1 KB (กิโลไบต์) =  1,024  Byte   =          1,024 ตัวอักษร

1 MB (เมกกะไบต์) =  1,024  KB     =    1,048,576 ตัวอักษร

1 GB (กิกะไบต์)     =  1,024  MB    = 1,073,741,824 ตัวอักษร

ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่ 256 MB 512 MB 1 GB และ 2 GB เป็นต้น


การเลือกซื้อหน่วยความจำแรม

1) ควรเลือกแรมที่มีมาตรฐานในการผลิต ซึ่งแรมมีอยู่ 3 ชนิด คือ SDRAM ที่กำลังจะเลิกใช้ไป DDR-RAM ซึ่งเป็นมาตรฐานของแรมในปัจจุบัน และ RDRAM ที่มีความเร็วสูงสุดและราคาแพงที่สุด

2) ควรเลือกขนาดของแรมที่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้งาน สำหรับเครื่องทั่วไปเลือกขนาด 128-256 MB แต่สำหรับเครื่องที่ทำงานด้านมัลติมีเดีย เกม และกราฟิกระดับสูงควรใช้แรมขนาด 512 MB ขึ้นไป

3) ควรเลือกแรมที่มีความเร็วในการทำงานที่รองรับกับซีพียูที่เราใช้งาน

4) ควรเลือกแรมที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาหน่วยความจำแรม

1) ควรถอดหน่วยความจำแรมออกมาทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่นด้วยแปรงที่มีขนนุ่มๆ และหลังจากนั้นนำ ยางลบสีขาวถูตรงขาของแรมทั้งสองข้าง เพื่อลบคราบต่างๆ ที่ติดอยู่

2) บริเวณขาของแรมควรระวังอย่าให้ตกหล่นหรือเปียกน้ำ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้


รอม
หน่วยความจำรอม (Read Only Memory : ROM) 

                  เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตได้ติดตั้งชุดคำสั่งสำหรับใช้ในการเริ่มต้น การทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง นั่นคือเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว และเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็จะไม่สูญหาย ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่รอมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งโดยผู้ใช้ได้ เพราะเป็น ชุดคำสั่งที่ติดตั้งในรอมอย่างถาวรมาตั้งแต่การผลิตของบริษัท เรียกว่า เฟิร์มแวร์ (Firmware)
หน่วยแสดงผล

                  หน่วย แสดงผล คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่ มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น 
จอภาพ
แสดงผลทางบนจอภาพ (Monitor) 

           เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่ 


                   1 จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube Monitor) เป็น จอภาพที่มีรูปร่างขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการทำงานโดยการยิงลำแสงผ่านหลอดแก้ว แสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด ซึ่งทำให้มีแสงมายังตากของผู้ใช้ค่อนข้างมาก 


                   2 จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
                          2.1) จอทีเอฟที (TFT : Thin film Transistor) หรือแอคทีปเมทริกซ์ เป็นหน้าจอที่มีการตอบสนองต่อการแสดงผลที่ค่อนข้างไว ประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว ทำให้การแสดงผลมีความละเอียด สว่างและมีความคมชัดมาก มักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิตอล เป็นต้น 
                          2.2) จอพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อบคอมพิวเตอร์ สีขาวดำ 

                      3 จอพลาสมา (plasma monitor) เป็น จอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์และกีฬาเป็นอย่างมาก 


การเลือกซื้อจอภาพ 

        1. ควรเลือกประเภทของจอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกภาพแอลซีดี 

        2. ควรเลือกจอภาพที่มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 ขนาดที่ได้รับความนิยม คือ 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ข้อดีของจอ 17 นิ้ว คือ เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟิก เพราะมีพื้นที่มากกว่าแต่มีราคาสูงกว่าจอ 15 นิ้ว 

        3. ควรเลือกจอภาพที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน 

การดูแลรักษาจอภาพ 

        1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเปิดจอภาพก่อนจึงเปิดที่ case เครื่อง และไม่ควรเปิด ปิดเครื่องติด ๆ กัน ควรพักเครื่องไว้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนเปิดเครื่องใหม่ เพราะการเปิดปิดเครื่องติด ๆ กันอาจทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติและเครื่องอาจค้างได้ 

        2. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับแสงสว่างของห้องทำงานและสภาพการทำงาน เพราะถ้าปรับแสงสว่างของจอภาพมากเกินไป จะทำให้จอภาพมีอายุการใช้งานสั้นลง 

        3. ควรตั้งโปรแกรมถนอมจอภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานจอภาพให้ยาวนานขึ้น
เครื่องพิมพ์
แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 

             เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพ ลงบนกระดาษ ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า หน่วยแสดงผลถาวร ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด ดังนี้ 

            1 เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (inkjet printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพราะมีราคาไม่แพงมากนัก หลักการพิมพ์ใช้วิธีฉีดพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ ให้ติดกับกระดาษ มีข้อดีคือทำให้หยดหมึกไม่แพร่กระจายหรือซึมรวมกัน หมึกพิมพ์แบบสีต้องใช้แม่สีซึ่งบรรจุอยู่ในตลับสามสี ปกติการใช้งานสีแต่ละสีจะหมดไม่พร้อมกัน ถ้าสีใดสีหนึ่งหมดจะส่งผลทำให้เครื่องพิมพ์ไม่ทำงาน ดังนั้นบางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนสีเพื่อความประหยัด บางรุ่นอาจแยกหมึกสีดำออกมาต่างหากสำหรับการพิมพ์สีดำอย่างเดียว ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์แบบฉีดหมึกจะมีราคาแพงเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยกับจำนวนแผ่นงาน ที่พิมพ์ แต่ให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัดมากกว่า จะเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสวยงาม 



             2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนผ่าน ผงหมึกที่มีประจุลบจุถูกดูดกับประจุบวก จากนั้นลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดกับกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูงและมีต้นทุนการพิมพ์เฉลี่ยต่อ แผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก จึงเหมาะกับงานที่ต้องพิมพ์ปริมาณมาก เช่น สำนักงาน สถานศึกษา ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น 




การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ 

        1. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับลักษณะของงานที่ต้องการ ถ้าเป็นงานพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ควรเลือกเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และถ้าเป็นงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่มากและต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก 

        2. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน 

การดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ 

        1. ควรเลือกใช้กระดาษที่ได้คุณภาพและขนาดไม่ควรหนาเกินกว่า 90 แกรม 

        2. ควรเก็บตลับหมึกไว้ในที่ปราศจากฝุ่นและในที่มีอุณหภูมิไม่สูง 

        3. ควรเปิดเครื่องพิมพ์ทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก เพื่อป้องกันหัวฉีดของเครื่องพิมพ์อุดตัน
ลำโพง
ลำโพง 

            ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี 2 ชนิด ดังนี้ 

        1. ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียง ได้แก่ ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดัง เสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม 

        2. ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง (speaker) ขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จะต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออก ลำโพง 



การเลือกซื้อลำโพง 

        1. ควรทดสอบฟังเสียงก่อน การทดสอบนั้นควรเปิดระดับดังที่สุดและเบาที่สุดเพื่อฟังความคมชัดของเสียง 

        2. ควรเลือกลำโพงที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน 

การดูแลรักษาลำโพง 

        1. ควรทำความสะอาดด้านหน้าลำโพง โดยการใช้ไม้ปัดฝุ่นหรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก 

        2. ควรเปิดเสียงในระดับปานกลาง หรือร้อยละ 80 จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เพราะถ้าเปิดดังเกินไป อาจทำให้ลำโพงเกิดความเสียหายได้
หน่วยความจำรอง

                 หน่วยความจำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วย ความจำแรม ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรม ประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ 
ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 

        เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูล ได้มาก


        ฮาร์ดดิสก์ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียก ว่าไซลินเดอร์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้

การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์

        1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10 GB/5,400 RPM งานกราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250 GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียงและวีดิโอ ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น
     
        2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
        1. ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือติดตั้งดปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกน ไวรัสอยู่เสมอ

        2. ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดว์ ได้แก่ Disk Cleanup

        3. ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ Shut down หรือไฟดับกะทันหัน ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk

        4. ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้ รวดเร็วขึ้น โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวิโดวส์ได้แก่ Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ออปติคัลดิสก์
ออปติคัลดิสก์ 

        ออปติคัลดิสก์ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออกติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ 

        1 ซีดีรอม (CD-Rom : Compact Disk-Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูล เพิ่มเติมได้ ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่า มีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซึ่งซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ ก็จะอ้างอิงความเร็วใจการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรกเป็นหลัก เช่น ความเร็ว 52 เท่า (52X) เป็นต้น 

        2 ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable) เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูล เหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม 

        3 ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite) หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่าง ๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ 

        4 ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิโลไบต์ นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิดได้แก่ 
            4.1) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง 

            4.2) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก และราคาสูงกว่าดีวีดีรอม 

            4.3) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงมีเครื่องอ่านดีวีดีแรมที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้ 
            2.5 บลูเรย์ดิสก์ (Blue Ray Disk) เป็น เทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง 100 กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำไปใช้ในการบันทึกภาพยนตร์ แต่แผ่น บลูเรย์ดิสก์จะมีราคาแพง 

การเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ 

        1. ควรซื้อแผ่นที่ใส่ในหลอดแผ่นซีดี แบบ 50 แผ่น ไม่ควรซื้อแบบใส่ซองพลาสติก แบบซ้อนกันขาย เนื่องจากอาจเกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นได้ 

        2. ควรเลือกสีเคลือบด้านบนที่เป็นมันวาว จะไม่สึกกร่อนง่าย 

การดูแลรักษาออปติคัลดิสก์ 

        1. เก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือซองที่มิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและรอยขีดข่วน 

        2. ควรเช็ดทำความสะอาดแผ่นก่อนใช้ 

        3. ควรตรวจเช็คว่าแผ่นซีดีนั้นยังสามารถอ่านได้อยู่เสมอ และประมาณ 2 ปี ควรนำแผ่นข้อมูลสำคัญมาบันทึกใหม่ 
อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช
อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช 

          อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) ธัม ไดร์ฟ (thumb drive) หรือแฮนดี้ไดร์ฟ (handy drive) เป็นความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีดีพร็อม (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก 


การเลือกซื้ออุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช 

        1. ควรเลือกที่มีความแข็งแรงขนาดไม่ใหญ่เกินไป และฝาปิดควรให้เชื่อมต่อกับตัวหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้สูญหายง่าย 

        2. เลือกขนาดความจุและราคาที่เหมาะสม 

        3. ควรเลือกที่มีการรับประกัน 

การดูแลรักษาอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช 

        เมื่อเลิกใช้หน่วยความจำแบบแฟลชที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องยกเลิกการ เชื่อมต่อ โดยคลิกขวาที่การเชื่อมต่อด้านขวามือของทาส์กบาร์ คลิก Safe To Remove Hardware จากนั้นคลิก stop และ close ที่หน้าจอ ไม่ควรดึงออกจากการต่อเชื่อมเลยทันที
เสริมความรู้
ลบขยะภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วย Disk Cleanup

โดย ปกติ การใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ภายใต้ Windows จะเกิด Temp file ซึ่งเป็นไฟล์ที่เกิดจากการนำพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์มาใช้เพื่อการประมวลผลชั่ว คราว และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อมีการใช้งานทุก ๆ ครั้งไฟล์เหล่านี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ลดน้อยลง 

ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup

 1. คลิกปุ่ม Start เลือก Programs > Accessories > System Tools > Disk Cleanup
 2. เลือก Drives ที่ต้องการลบไฟล์ 

     


 3. คลิก OK โปรแกรมจะแสดงประเภท และจำนวนของ file ขยะที่สามารถลบได้

    

 4. คลิกเครื่องหมายถูกในช่องประเภทของ file ที่ต้องการลบ 
 5. คลิก OK เพื่อยืนยันการลบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น